การป้องกันปัญหาสิ่งเสพติดต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนี้
การป้องกันตนเอง 1. ไม่ทดลองเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะอาจจะทำให้ติดได้ง่าย 2. เลือกคบเพื่อนที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย 3. รู้จักใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา แต่หากว่าไม่สามารถแก้ไขเองได้ ก็ควรจะปรึกษากับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ 4. การสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อนชักชวนให้เสพสิ่งเสพติดต้องรู้จักปฏิเสธอย่างนุ่มนวล โดยการชี้แจงผลเสียของสิ่งเสพติดต่อการเรียนและอนาคต การรู้จักปฏิเสธอย่างจริงจังและจิตใจแน่วแน่จะทำให้เพื่อนเกรงใจไม่กล้าชวนอีก
ป้องกันตนเอง ทำได้โดย.. • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
• ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์ • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษา ผู้ใหญ่ การป้องกันในครอบครัว
ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดส่วนใหญ่จะเกิดจากครอบครัวที่แตกแยกมีปัญหา ขาดความรักความอบอุ่น เกิดความว้าเหว่ ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งเป็นเหตุให้เด็กๆ หันไปพึ่งยาเสพติดแทน ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้ความรักความอบอุ่น และพ่อแม่ก็ควรจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลูกๆได้ ทำให้ลูกไม่หันไปพึ่งพายาเสพติด ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
• ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
การป้องกันในโรงเรียน ครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของสิ่งเสพติดให้กับนักเรียน จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนให้เพียงพอและสนับสนุนให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆและสอนให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
การป้องกันชุมชน การป้องกันชุมชนจากปัญหาสิ่งเสพติดทำได้หลายวิธี เช่น 1. การให้ความรู้ โดยการอบรมแก่ทุกคนในชุมชนให้เห้นโทษหรืออันตรายจากสิ่งเสพติด 2. เสริมกิจกรรมยามว่าง โดยการส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชนยามว่าง เช่น การเย็บเสื้อผ้า การทำรองเท้า เป็นต้น 3. ตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เมื่อพบว่ามีการซื้อขายหรือเสพสิ่งเสพติดภายในชุมชน 4. เข้าร่วมโครงการชุมชนปลอดสิ่งเสพติดต่างๆ ทั้งที่ทางราชการจัดขึ้น และชุมชนคิดริเริ่มขึ้นมาเอง ป้องกันชุมชน ทำได้โดย • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่... *สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526 *ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688
รัฐบาล 1. การให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 2. แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างจริงจัง และจัดสรรงบประมาณในการป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติด 3. จัดบุคลากรและหน่วยงานในการป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติดให้เพียงพอ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 4. การบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง บางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนที่ดูแลด้านสิ่งเสพติดก็ปล่อยปละละเลย หรือทำการค้าสิ่งเสพติดเสียเอง ทำให้การปราบปรามไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเข้ทมงวดกับผู้กระทำผิดและลงโทาผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น